a

Mosmile Music

Music For Artist3 วิธีแก้ปัญหา #เวลาคิดไอเดียไม่ออก ( สำหรับ ผู้เริ่มต้นแต่งเพลง )

3 วิธีแก้ปัญหา #เวลาคิดไอเดียไม่ออก ( สำหรับ ผู้เริ่มต้นแต่งเพลง )

📌ใช้ Mind Map หรือ แผนผังความคิด ในการแตกย่อย “ไอเดียหลัก” ออกเป็น “ไอเดียเล็กๆ” บางครั้ง ไอเดียหลัก หนึ่งไอเดียสามารถแตกย่อยออกมาเป็น ไอเดียเล็กๆ ได้อีกหลายสิบไอเดีย

📌 การเขียนออกมาจะช่วยให้เราเห็นภาพมากขึ้น

📌 เคล็ดลับอย่างหนึ่งในการใช้ Mind Map คือ พยายาม “แตกย่อยไอเดียออกมาให้เยอะที่สุดก่อน” โดยไม่ต้องคำนึงถึงความถูกต้อง หรือ ตั้งขอบเขตไว้มากจนเกินไป เพราะจะเป็นการปิดกั้นความคิดไม่ให้ไอเดียดีๆถูกปล่อยออกมา

📌 บางครั้งไอเดียเจ๋งๆ หรือ ไม่คาดคิด ก็อาจเกิดจากการทำ Mind Map ได้เช่นกัน

📌 ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของ Mind Map คือ “ช่วยให้เพลงมีรายละเอียดที่ชัดเจนมากขึ้น” สื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจในเพลงของเราได้มากขึ้น

📌 ใช้ Storyboard : วิธีนี้เป็นการหยิบยืมวิธีการจากภาพยนตร์หรือการ์ตูนนำมาประยุกต์ใช้กับการแต่งเพลง

📌 ให้ลองเขียนกรอบขึ้นมา 3 – 4 กรอบเรียงกัน โดยในแต่ละกรอบจะแทนท่อนต่างๆตามโครงสร้างพื้นฐานของเพลง เช่น

✅ Verse1 – Pre chorus – Chorus – Verse2

✅ Verse1 – Pre chorus – Chorus – Verse2 – Bridge

      โดยเราสามารถกำหนดขึ้นมาได้เองเลยว่า อยากจะให้เพลงของเรานั้นมีท่อนอะไรบ้าง

📌 ในที่นี้เราจะขอยกตัวอย่างในฟอร์มของ

Verse1 – Pre chorus – Chorus – Verse2

▶️ ในกรอบแรก : ท่อน Verse1 ให้เขียนบรรยายจุดเริ่มต้นหรือเกริ่นนำเข้าสู่เรื่องราว

▶️ ในกรอบที่สอง : ท่อน Pre chorus เปรียบเสมือนท่อนที่เตรียมเข้าสู่บทสรุปของเรื่องราว อาจเป็นจุดผลิกผันของเรื่องราว จุดหักมุม หรือเหตุการณ์บางอย่างที่จะนำไปสู่บทสรุปในท่อนต่อไป

▶️ ในกรอบที่สาม : ท่อน Chorus หรือ ท่อนฮุค เปรียบเสมือนบทสรุปของเรื่องราว เป็นการสรุปถึงสิ่งที่เราต้องการสื่อสารจากเพลง

▶️ ในกรอบที่สี่ : ท่อน Verse2 เป็นการเล่าเรื่องราวขยายความเพิ่มเติมจาก ท่อน Verse1

📌 เคล็ดลับ คือ ในขณะที่เขียน Storyboard ของเพลง ให้เราจินตนาการเรื่องราวในเพลงเสมือนเป็น “ภาพยนตร์ หรือ หนังสั้นเรื่องหนึ่ง” เพราะ ยิ่งภาพที่เรามีต่อเพลงชัดเจนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสื่อสารให้คนฟังเข้าใจและรู้สึกได้มากเท่านั้น

      นอกจากนี้เรายังสามารถนำ Storyboard มาใช้ขยายเรื่องราวใน “กรอบหลัก” ให้เป็น “กรอบย่อยๆ” เพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดของเหตุการณ์ในเพลงให้เป็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

✍ หากต้องการ Storyboard Templates สวยๆไว้ใช้งาน

ดาวน์โหลดได้ที่ : https://www.template.net/business/free-storyboard-templates/

การ ‘ตั้งคำถามที่ดี’ จะนำมาซึ่ง ‘คำตอบที่ดี’ 

คำถามจะเป็นเหมือนตัวช่วยขยายไอเดียและมุมมองของเราให้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้น

นี่คือ คำถามส่วนหนึ่ง ที่เราอยากแนะนำให้นำไปใช้กันครับ

 

▶️ “อะไรคือใจความสำคัญที่สุดที่อยากบอกในเพลงนี้ ?”

✅ คำถามนี้ จะช่วยแก้ปัญหา ความไม่ชัดเจน หรือ การเล่าเรื่องที่เยิ่นเย้อจนเกินไป / นอกจากนี้ยังช่วยให้เราตีกรอบเนื้อหาของเพลงได้กระชับและตรงประเด็นมากขึ้น

▶️ “เพลงนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างใครกับใคร และ ใครกำลังพูดกับใคร ?” ยกตัวอย่างเหตุการณ์เช่น …

✅ เหตุการณ์ระหว่าง เรา กับ คนที่แอบชอบ

      – จึงเขียนเพลงเพื่อ –> พูดบอกความในใจกับเค้า

✅ เหตุการณ์ระหว่าง เรา กับ แฟนเก่าที่เพิ่งเลิกกันไป

      – จึงเขียนเพลงเพื่อ —> พูดปลอบใจตัวเองให้ก้าวเดินต่อไป

✅ เหตุการณ์ระหว่าง เรา กับ เรื่องราวของคนอื่น ในฐานะที่เราเป็นผู้เฝ้ามองเหตุการณ์นั้น เช่น เราเห็นเพื่อนกำลังเสียใจ

      – จึงเขียนเพลงเพื่อ —> พูดให้กำลังใจเพื่อน

▶️ “เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ไหน และ เกิดขึ้นเมื่อไหร่ ?”

✅ คำถามนี้จะช่วยในการบอกเล่ารายละเอียดของเรื่องราวในเพลงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บรรยากาศในขณะนั้น สถานที่ที่เกิดเรื่องราวนั้น / นอกจากนี้ยังช่วยในการลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเพลง

การที่เราทราบบริบทเหล่านี้ มีประโยชน์อีกอย่างหนึ่ง คือ ช่วยให้เราสามารถ เลือกใช้คำ ในเพลงได้เหมาะสมกับเรื่องราวในเพลงมากขึ้น

▶️ “จุดเริ่มต้นของเหตุการณ์คืออะไร ?”

“เหตุการณ์ดำเนินไปอย่างไร ?”

“มีจุดสิ้นสุดหรือตอนจบของเหตุการณ์เป็นอย่างไร ?”

✅ เมื่อเราตอบสามคำถามนี้ได้ จะช่วยทำให้ขอบเขตของเรื่องราวและเส้นเรื่องในเพลงชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาที่หลายๆคนอาจจะเคยเจอ คือ ‘เมื่อแต่งเพลงไปถึงจุดหนึ่งแล้วเนื้อหาไม่ปะติดปะต่อกัน’

ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น เช่น …

เหตุการณ์ : เราไปเที่ยวทะเลกับเพื่อน

⭐ จุดเริ่มต้น –> เรารู้สึกเหนื่อยล้าจากการทำงาน อยากไปพักผ่อนเลยชวนเพื่อนไปทะเลด้วยกัน เริ่มเก็บกระเป๋า เตรียมพร้อมกับการออกเดินทาง จากนั้นก็ออกเดินทาง

⭐ เหตุการณ์ดำเนินไป –> เมื่อถึงทะเล เราเที่ยวทะเลอย่างมีความสุข ดื่มด่ำบรรยากาศอย่างเต็มที่ ได้เดินบนชายหาด เล่นน้ำทะเล ปล่อยปลดความทุกข์ความกังวลที่มีในใจ

⭐ จุดสิ้นสุด –> เราเดินทางกลับบ้านอย่างมีความสุข พร้อมมีพลังกลับอีกครั้งหนึ่ง

จะเห็นได้ว่าเรื่องราวใกล้ตัวอย่างการไปเที่ยวทะเล ถ้าเราตั้งคำถามให้ดี ก็จะได้คำตอบที่ดีที่นำมาแต่งเป็นเพลงได้

▶️ “แล้วยังไงต่อ ?”

คำถามนี้เหมาะกับใช้แก้ปัญหา ไอเดียตันแบบฉับพลัน เช่น แต่งเพลงมาถึงท่อนนึงแล้วแต่งท่อนต่อไปไม่ได้ / คำถามนี้จะเป็นเหมือนตัวจุดประกายไอเดียขึ้นมาอีกครั้ง และทำให้เห็นภาพว่าเรื่องราวต่อไปควรจะเป็นยังไง

▶️ “ทำไมเราถึงแต่งเพลงนี้ขึ้นมา”

      แม้คำถามนี้อาจฟังดูนามธรรมมากที่สุด แต่ก็เป็นคำถามที่ช่วยให้เรารู้ถึง ‘“เหตุผลที่เราแต่งเพลงนี้ขึ้นมา” ได้ และเหตุผลนั้นจะยิ่งเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญที่ทำให้เราแต่งเพลงนี้ออกมาได้สำเร็จ เพราะบางครั้งที่เราแต่งเพลงไม่สำเร็จ ไม่ใช่เพราะเราทำไม่ได้ แต่อาจเพราะ #เราไม่มีเหตุผลมากพอที่จะแต่งเพลงนี้ออกมา

      บางครั้งคำถามว่า “ทำไมเราถึงแต่งเพลงนี้ขึ้นมา” อาจนำพาเราไปสู่ความรู้สึกนึกคิดที่ลึกซึ้งกว่าเดิม หรือเกิดไอเดียที่แปลกใหม่แบบไม่คาดคิด นี่อาจเป็นเพียงคำถามส่วนหนึ่งจากอีกหลายสิบคำถามที่เราสามารถนำมาถามตัวเองได้

      จุดที่อยากจะชี้ให้เห็นก็คือ “การตั้งคำถาม” ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราสามารถนำมาใช้กับการแต่งเพลงได้เช่นกันครับ

ทั้ง 3 วิธีที่แชร์ไป เป็นไอเดียเล็กๆน้อยๆที่น่าจะช่วยให้ผู้ที่เริ่มต้นแต่งเพลงสามารถครีเอทไอเดียได้ไหลลื่น และ มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งกับ “งานเพลงของคุณเอง” “งานแต่งเพลงให้คนอื่น” “งานเพลงโฆษณา” “เพลงประกอบคอนเทนต์” อีกหลากหลายรูปแบบเลยครับ 

📌 สนใจปรึกษาเรื่องการทำเพลง หรือ สมัครร่วมงานกับเรา ติดต่อได้ที่ …
.
Line OA = @mosmilemusic
Back to top

เรารับผลิตงานเพลงและดนตรีเต็มรูปแบบให้กับศิลปิน, นักร้อง-นักดนตรีอิสระ, แบรนด์สินค้า, และองค์กรต่างๆ โดยถ่ายทอดไอเดียของคุณผ่านเนื้อเพลงที่สร้างสรรค์ แนวทางดนตรีที่หลากหลายและทันสมัย

Follow us