1. ฟังแนวคิด : เพลงแต่ละเพลงล้วนมี แนวคิดหลัก หรือ คอนเซปท์ของเพลงนั้นๆ ซึ่งผู้แต่งพยายามที่จะสื่อสารมุมมองใหม่ๆ ออกมาให้แก่ผู้ฟัง หากเปรียบ เรื่องราวๆ หนึ่งเป็นเหมือนกล่องสี่เหลี่ยมที่มี 8 ด้าน นั้นหมายความว่า ในเรื่องราวหนึ่งนั้น สามารถมองได้ถึง 8 มุมมอง ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เรื่องราวหนึ่ง อาจมีมากกว่า 8 มุมมองให้ได้มอง ซึ่งสุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับว่า ‘ผู้แต่งต้องการหยิบด้านไหนของเรื่องราวนั้นออกมานำเสนอให้เราได้ฟัง’
2. ฟังการเล่าเรื่อง : การเล่าเรื่องราวด้วยเพลง อาจต่างจาก การเล่าผ่านหนังสือ ภาพยนตร์ หรือศิลปะแขนงอื่นๆ ตรงที่ว่า เพลงเป็นการเล่าเรื่องแบบสรุปเรื่องราวให้ได้ภายในเวลาอันสั้น ดังนั้นสิ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งคือ การเล่าเรื่องให้ได้อย่างพอดี มีรายละเอียดที่ชัดเจน ไม่มากไม่น้อยจนเกินไป และสุดท้ายต้องสามารถสื่อสาร ความคิด อารมณ์ความรู้สึก ถึงผู้ฟังได้ นอกจากนี้ชั้นเชิงในการเล่าเรื่องให้น่าสนใจ และ น่าติดตาม ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะ หากมีแนวคิดที่น่าสนใจ แต่ไม่สามารถเล่าเรื่องให้น่าสนใจ หรือน่าติดตามได้ สิ่งที่ต้องการสื่อสารก็อาจไม่ถูกส่งไปถึงผู้ฟังได้อย่างที่ต้องการ
3. ฟังภาษา : ภาษาในเพลงเป็นสิ่งที่จะช่วยบอกเล่าเรื่องราวในเพลงให้เกิดเป็นภาพที่ชัดเจน ภาษาสะท้อนถึงประสบการณ์และวิธีคิดของผู้แต่งได้เป็นอย่างดี เพลงที่มีเนื้อหาใกล้เคียงสามารถต่างกันได้ด้วย ‘ภาษาในเพลง’ คำพูด วลี หรือ ประโยคที่แปลกใหม่ สามารถสร้างความประทับใจกับเพลงนั้นๆได้เป็นอย่างดี
4. ฟังดนตรี : เมื่อมีเนื้อร้องและทำนองแล้ว อีกสิ่งที่จะเข้ามาเติมแต่งเพลงให้สมบูรณ์คือ ‘ดนตรี’ ดนตรีเป็นภาษาสากลที่ใช้เพื่อสื่อสารความรู้สึก เพลงสากลบางเพลงแม้เราอาจไม่เข้าใจในความหมาย แต่เรากลับรู้สึกได้ถึงเพลงผ่านท่วงทำนองของดนตรี ดนตรีช่วยสร้างบรรยากาศเพื่อขับเน้นเรื่องราวในเพลงให้เป็นภาพที่ชัดขึ้น และหลายๆครั้ง ดนตรีคือส่วนสำคัญในการสร้างความน่าจดจำให้แก่บทเพลง
5. ฟัง(ด้วย)ใจ : สุดท้ายแล้ว การฟังเพลงซักหนึ่งเพลง คงไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าการได้ ‘ดื่มด่ำกับความรู้สึกของเพลง’